วันเสาร์, 3 พฤษภาคม 2568

NT ภาคใต้ สงขลา เข้าร่วมสังเกตุการณ์ ทดสอบระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว Cell-Broadcast ครั้งแรกของประเทศไทย

วันที่  2 พฤษภาคม 2568 ที่ ศาลากลางจังหวัดสงขลา อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา เวลา 13.00 น. นายอรรณพ อุนทริจันทร์ ผู้จัดการส่วนปฏิบัติการและบำรุงรักษาสื่อสารไร้สายภาคใต้ และ นายสิทธิพงศ์ อินทกาญจน์ ผู้จัดการส่วนขายและบริการลูกค้า สงขลา และทีมงานNTภาคใต้(บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมสังเกตุการณ์ ทดสอบระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว Cell-Broadcast ครั้งแรกของประเทศไทยโดยมี นายวิทยา จันทน์เสนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาและ นางสุนิสา รามแก้ว ประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา ให้การต้อมรับ ครั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดให้มีการทดสอบระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว Cell-Broadcast ครั้งแรกของประเทศไทย บริเวณศาลากลางจังหวัดสงขลาและรัศมีโดยรอบ 2 กิโลเมตร 

สำหรับจังหวัดสงขลา เป็น 1 ใน 5 พื้นที่ ๆ จะร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยระดับเล็ก (พื้นที่อาคาร) ผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมกับศาลากลางจังหวัดเชียงราย, ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี, ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี, ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคาร A และ B ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร และศาลากลางจังหวัดสงขลา ซึ่งการทดสอบจะทำให้โทรศัพท์มือถือทุกเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่ทดสอบรอบศาลากลางจังหวัดสงขลา และรัศมีโดยรอบ 1 กิโลเมตรดังขึ้นแม้โทรศัพท์จะปิดเสียง พร้อมกับ SMS แจ้งเตือนว่าในโทรศัพท์ว่า นี่คือการทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยขอพี่น้องประชาชนอย่าตื่นตระหนก

ในวันนี้ ได้มีตัวแทนจากองค์การที่เกี่ยวข้องกับระบบสื่อสาร ได้แก่ NT ภาคใต้(บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) AISบริษัท แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส จากัด (มหาชน),Trueทรู คอร์ปอเรชั่น เข้าร่วมทดสอบระบบด้วย

การทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้ง 3 เครือข่ายในวันนี้ ปรากฏว่า สามารถควบคุมสัญญาณให้อยู่ในเฉพาะขอบเขตที่กำหนดได้ และจากการลงสำรวจของเจ้าหน้าที่พบว่า ระยะการส่งสัญญาณไกลสุด จากศูนย์กลางศาลากลางจังหวัดสงขลา ไปจนถึงบริเวณโรงเรียนวรนารีเฉลิม ห่างจากศาลากลางจังหวัดสงขลา ประมาณ 400 เมตร ทุกคนก็ได้รับสัญญาณการแจ้งเตือนทั้งหมด

โดยหลังจากนี้จะมีการทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยระดับกลาง (พื้นที่อำเภอ) ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2568 โดยพื้นที่ภาคใต้ จะทดสอบระบบในพื้นที่อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และวันที่ 13 พฤษภาคม 2568 ระดับใหญ่ (พื้นที่จังหวัด) ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทั้งนี้ แม้จังหวัดสงขลาจะไม่มีข้อกังวลเกี่ยวกับภัยพิบัติแผ่นดินไหว แต่ก็สามารถนำมาใช้ในการเตือนภัยจากพายุที่เข้ามาได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพรจนถึงจังหวัดนราธิวาส มีกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นหน่วยติดตามส่งข้อมูลมายังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จากนั้น กรม ปภ. ก็จะดำเนินการแจ้งแต่ละพื้นที่ผ่านระบบ Cell Broadcast เพื่อแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง จึงขอเน้นย้ำประชาชนว่า ทาง ปภ.ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม ลดความสูญเสียของพี่น้องประชาชนจากภัยพิบัติต่าง ๆ