วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เวลา 13.30 น ณ ลานกิจกรรม เซ็นทรัลเฟส หาดใหญ่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จัดกิจกรรม “โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน “โดยมี รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา เป็นประธานกล่าวเปิดงานและกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานโดย ดร.รัชชพงษ์ ชัชวาลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา บรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วย แขกผู้มีเกียรติและกลุ่มชุมชนต้นแบบ ที่มาร่วมออกบูทแสดงสินค้าชุมชนจัดงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน มีประชาชนจากชุมชนต้นแบบ ในจังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล จำนวน 10 ชุมชน ชุมชนละ 10 คน รวมจำนวน 100 คน
“โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 7.2.3 สัมมนาเชิงปฏิบัติการและจัดงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนการท่องเที่ยวชุมชนโดยใช้กระบวนการทำงานในรูปแบบภาคเครือข่าย” ในครั้งนี้การเสริมสร้างพลังทางสังคมเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญที่จะเป็นกลไกช่วยให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม การดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน การสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับความต้องการระดับพื้นที่บนฐานองค์ความรู้และความเข้าใจในบริบทและสภาพปัญหาในเชิงลึกที่แท้จริง นำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศที่ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
การขยายกลุ่มภาคีเครือข่ายการทำงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาในพื้นที่จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล โดยครอบคลุมทั้งภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม/ ภาคประชาชน ทำให้เกิดองค์ความรู้นวัตกรรมด้านการยกระดับการใช้ทรัพยากรของชุมชน SDG อย่างยั่งยืน ทำให้ภาคีเครือข่าย สามารถร่วมวางแผน ดำเนินงาน บริหารจัดการ แก้ปัญหา และมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา และการท่องเที่ยวได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่รับผิดชอบ ทำให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น มีการดึงศักยภาพด้านต่าง ๆ มาใช้ เพื่อให้มีการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและตรงจุด ทำให้ชุมชน ท้องถิ่น สามารถพัฒนาพื้นที่ของตนได้อย่างมั่นคงและเกิดความยั่งยืนต่อไป โดยการอาศัยพลังความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของชุมชนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัด โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 7.2.3 สัมมนาเชิงปฏิบัติการและจัดงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนการท่องเที่ยวชุมชนโดยใช้กระบวนการทำงานในรูปแบบภาคเครือข่าย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน
2. เพื่อจัดงานแสดงสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน การท่องเที่ยวชุมชน โดยใช้กระบวนการทำงานในรูปแบบภาคเครือข่าย
โครงการนี้กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30-31 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ในรูปแบบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและจัดงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน มีประชาชนจากชุมชนต้นแบบ ในจังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล จำนวน 10 ชุมชน ชุมชนละ 10 คน รวมจำนวน 100 คน และประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรมาร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อ “ทิศทางการพัฒนาชุมชนต้นแบบและแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน” จำนวน 5 ท่าน ดังนี้
1. นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
2. นางนงเยาว์ จิรันดร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานหาดใหญ่
3. นายกิตธนา สุบรรพวงศ์ นายกสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา
4. นายประสิทธิ์ กุลเทพรหม นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา
และ 5. นายสุเทพ เกื้อสังข์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยว อดีตรองผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน
กิจกรรมที่ 7.2 ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืนชุมชนเกาะยอ
กิจกรรมที่ 7.2.3 สัมมนาเชิงปฏิบัติการและจัดงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนการท่องเที่ยวชุมชนโดยใช้กระบวนการทำงานในรูปแบบภาคเครือข่ายระหว่างวันที่ 30-31 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ ห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
“โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 7.2.3 สัมมนาเชิงปฏิบัติการและจัดงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนการท่องเที่ยวชุมชนโดยใช้กระบวนการทำงานในรูปแบบภาคเครือข่าย” ในครั้งนี้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และคณะทำงาน ที่ผนึกกำลังเพื่อสร้างพื้นที่ชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็ง แสดงศักยภาพของนักวิชาการที่สอดรับกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” การนำเอาศักยภาพของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน รวมถึงการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการระดับพื้นที่บนฐานองค์ความรู้และความเข้าใจในบริบทในเชิงลึก นับเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถของประชาชน เฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการรวมตัวของประชากรทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ในการร่วมคิด ร่วมลงมือพัฒนา เป็นพลังสำคัญในการสร้างโอกาสและความเสมอภาคในสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินการของภาครัฐในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า
การพัฒนาการท่องเที่ยวระดับชุมชนท้องถิ่นและเชิงพื้นที่ ถือเป็นการวางแผนที่เชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจกับชุมชนแหล่งท่องเที่ยว การนำทุนทางศิลปวัฒนธรรมมาสร้างให้เกิดมูลค่าและคุณค่าใหม่ เป็นการเพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนในทุกระดับเข้ามาเป็นกำลังของการพัฒนา เป็นการสร้างพื้นที่ สร้างความเข้าใจและยอมรับถึงคุณค่า และสร้างเป้าหมายร่วมหรือจุดร่วมอย่างสร้างสรรค์ ชุมชนผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวได้มีบทบาทต่อการบริหารจัดการ และทำนุบำรุงคงคุณค่าแห่งความงดงามเอาไว้ให้ยั่งยืน โดยความเข้าใจและมีจิตสำนึกถึงความเป็นเจ้าของ รวมทั้งมีสิทธิ์กำหนดแนวทางการพัฒนาไปด้วยกัน