มรภ.สงขลา จับมือธนาคารออมสิน จัดเวทีนำเสนอ 5 โครงการย่อยนักศึกษาโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2568 นำองค์ความรู้ทางวิชาการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ตอบสนองความต้องการของตลาด สร้างความมั่นคงทางรายได้แก่ผู้ประกอบการในชุมชน
เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ร่วมกับธนาคารออมสิน ภาค 18 จัดเวทีนำเสนอโครงการย่อย (Proposal) ของนักศึกษาโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี พ.ศ. 2568 สถาบันอุดมศึกษา มรภ.สงขลา ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น 1 มรภ.สงขลา และผ่านระบบออนไลน์ zoom Metting โดยมี รศ.ดร.วีระชัย แสงฉาย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย เป็นประธานในพิธีเปิด ได้รับโอวาทและคำแนะนำแก่นักศึกษาจาก นายณัฐวุฒิ ธรรมตานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อย และองค์กรชุมชน และกล่าวแนะนำโครงการ โดย นายเขมินทร์ เมธีอภิรักษ์ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เขตสงขลา 1
ทั้งนี้ การเปิดเวทีนำเสนอผลงานในครั้งนี้ มีนักศึกษา มรภ.สงขลา ร่วมนำเสนอโครงการฯ จำนวน 5 ทีม ดังนี้
1. ทีม Born to Be นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการผลิตภัณฑ์อาหาร ร่วมกับนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด นำเสนอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเขาวังชิง (ผลิตภัณฑ์ ไวน์กาแฟไร้แอลกอฮอล์) โดยมี อาจารย์ ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ ผศ.นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร อาจารย์สันติ หมัดหมัน และ ผศ.ปริยากร บุญส่ง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
2. ทีม Ten of us (พวกเราสิบคน) นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชา เทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมกับนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด พัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้เขาพระ (ผลิตภัณฑ์ อาหาร/เครื่องดื่มที่มีใยอาหารจากเปลือกโกโก้) โดยมี อาจารย์ ดร.นฤมล รักไชย และ อาจารย์สิรกันยา โชติช่วง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
3. ทีม เที่ยวไปในไพรพฤกษ์ นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด พัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโตนงาช้างและโกโก้แปรรูป (รูปแบบและเส้นทางการท่องเที่ยว) โดยมี อาจารย์ณภัสร์วัลย์ ยินเจริญ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
4. ทีม งากรอบโปร นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ร่วมกับนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด พัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสาวลักษณ์ขนมพื้นบ้าน (ผลิตภัณฑ์ งาคั่วกรอบ) โดยมี ผศ.ฐิติมาพร ศรีรักษ์ และ อาจารย์ ดร.รรินา มุกดา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
5. ทีม Baby Cow Team นักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ ร่วมกับนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด พัฒนากลุ่มเกษตรกรเลี้ยงโคแม่พันธุ์และโคขุนเศรษฐกิจพอเพียงตำบลเกาะแต้ว (ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์) โดยมี ผศ.คุลยา ศรีโยม และ อาจารย์ ดร.หทัยรัตน์ วัฒนพฤกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมบรรยายการดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2568 การให้ความรู้ด้านทางการเงิน/การจัดทำบัญชีรับ จ่าย/จัดทำบัญชีต้นทุน การเปิดบัญชีธนาคาร การเข้าถึงบริการทางการเงินของธนาคารออมสินแก่อาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา ซึ่งการนำเสนอโครงการในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษานำความรู้ ข้อเสนอแนะที่ได้จากคณะกรรมการไปใช้พัฒนายกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือบริการให้มีมูลค่าเพิ่ม สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความมั่นคงในอาชีพและรายได้ต่อไป
สำหรับโครงการที่จัดขึ้นในครั้งนี้ มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ เป้าหมายที่ 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน