วันอาทิตย์, 24 พฤศจิกายน 2567

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.)ครบรอบการดำเนินงาน 36 ปี ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.)

27 ส.ค. 2024
43

26 สิงหาคม 2567 ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) 1 ใน 6 ท่าอากาศยานภายใต้การกำกับดูแลของ บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) ปีนี้ครบรอบการดำเนินงาน 36 ปี พร้อมก้าวเข้าสู่ปีที่ 37 ทหญ. มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพการให้บริการ และการรักษาความปลอดภัย เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดี การเดินทางที่ประทับใจแก่ผู้ใช้บริการ
ทหญ. เป็นผู้ดำเนินการสนามบินสาธารณะที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) โดยมีนายชูวิทย์ พันธุ์เณร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ผหญ.) นางสุมณฑา เพ็ชราภรณ์รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ด้านสนับสนุนธุรกิจ) (รหญ.(สธ.)) นายนพพร พยัพไพร รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ด้านปฏิบัติการและบำรุงรักษา) (รหญ.(ปร.)) โดยมีผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้าง ณ ทหญ.จำนวนรวม 342 คน ทหญ.เป็นจุดเชื่อมการเดินทางทางอากาศเส้นทางบินภายในประเทศสู่ 5 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ของไทยได้แก่ สงขลา สตูล นราธิวาส ยะลา และปัตตานี รวมถึงเส้นทางบินระหว่างประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ มีสายการบินที่ให้บริการ ณ ปัจจุบัน จำนวน 7 สายการบิน ได้แก่ สายการบินไทย, สายการบินนกแอร์,สายการบินบางกอกแอร์เวย์, สายการบินไทยไลอ้อนแอร์, สายการบินไทยแอร์เอเซีย, สายการบินสกู๊ต และสายการบินไทยเวียตเจ๊ตแอร์ นำผู้โดยสารเดินทางสู่ดอนเมือง, สุวรรณภูมิ, เชียงใหม่, ภูเก็ต, อุดรธานี, กัวลาลัมเปอร์ และสิงคโปร์ในด้านผลการดำเนินงานและปริมาณการจราจรทางอากาศในภาพรวมรอบ 10 เดือน (ตุลาคม 2566 -กรกฎาคม 2567) มีจำนวนเที่ยวบินรวม 16,342 เที่ยวบิน แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ จำนวน 1,649เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 27.34% และเที่ยวบินภายในประเทศจำนวน 14,693 เที่ยวบิน ลดลง 10.16% หรือมีจำนวนเที่ยวบินเข้า-ออกเฉลี่ย 54 เที่ยวบิน/วัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีเที่ยวบินเข้า-ออก 60 เที่ยวบิน/วัน ลดลงคิดเป็น 10.00% และในส่วนของการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ ทหญ. มีพื้นที่สำหรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์จำนวนทั้งหมด 86 พื้นที่ จัดสรรแก่ผู้ประกอบการแล้ว 55 พื้นที่ และยังคงมีพื้นที่ว่างคงเหลือสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเช่าพื้นที่อีกจำนวน 31 พื้นที่เพื่อการก้าวสู่การเป็นท่าอากาศยานที่ดีในระดับสากล ท่าอากาศยานหาดใหญ่ คณะกรรมการ ทอท. ได้ให้ความเห็นชอบในการเร่งดำเนินการโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน เพื่อรองรับความสามารถในการให้บริการ โดยการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งปรับปรุงเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อลดความแออัด เพิ่มความสะดวกสบายรวดเร็ว ปลอดภัย แก่ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ โดยดำเนินการแผนพัฒนาซึ่งมีความคืบหน้าดังนี้

  • โครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
  1. ปรับปรุงจุดรับฝากอาวุธหน้าอาคารผู้โดยสาร
  2. งานปรับปรุงอาคารผู้โดยสารชั้น 2 ทหญ.
    2.1 ปรับปรุงสำนักงานสายการบินบริเวณพื้นที่ชั้น 2 ทหญ.
    2.2 ปรับปรุงห้องจำหน่ายบัตรโดยสารและสำนักงานสายการบิน
    2.3 ปรับปรุงห้องรับรอง VIP
    2.4 ปรับปรุงสำนักงานส่วนราชการ
    2.5 ปรับปรุงห้องผู้โดยสารขาออกภายในประเทศ และระหว่างประเทศ
  • โครงการก่อสร้างอาคารจอดรถยนต์ ณ ทหญ.เป็นอาคารจอดรถ 5 ชั้น สามารถให้บริการได้จำนวน 1,500 คัน
  • งานปรับปรุงถนนทางเข้า – ออก พร้อมป้อม 1 งาน ตามที่กรมทางหลวง (ทล.) มีโครงการขยายถนนทางหลวงหมายเลข 4135 ทางเข้าสนามบินจาก 4 เลน พร้อมย้ายป้อมรักษาการณ์ไปยังตำแหน่งใหม่เพื่อรับรองกับการจราจรที่เพิ่มขึ้นและแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด บริเวณทางเข้าสนามบิน
  • โครงการปรับปรุงอาคารอเนกประสงค์เป็นการปรับปรุงเพื่อการใช้รับรองผู้โดยสารที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยปรับปรุงให้มีการใช้งานเช่นเดียวกับอาคารผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศและเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ กพท. และลดความแออัดภายในอาคารผู้โดยสารในช่วงเทศกาลเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์
  • โครงการปรับปรุงด้านกายภาพในเขตการบินเพื่อลดทอนสิ่งกีดขวางในเขตแนวร่อนและลดจำนวนสัตว์อันตรายในเขตการบิน ด้านหัวทางวิ่ง 08 แล้วเสร็จ (ปีงบประมาณ 66)
  • โครงการปรับปรุงด้านกายภาพในเขตการบินปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการด้านหัวทางวิ่ง 26
  • โครงการปรังปรุงด้านกายภาพในเขตการบินงานซื้อพร้อมติดตั้ง Precision Approach Path Indicator (PAPI) เพื่อทดแทนของเดิมที่เสื่อมสภาพซึ่งติดตั้งบริเวณหัวทางวิ่ง 08-26 เป็นไฟที่ช่วยให้นักบินใช้สังเกตขณะนำเครื่องร่อนลงสู่สนามบินในมุมที่ถูกต้องซึ่ง ทหญ. ได้ส่งรายละเอียดให้ กพท. พิจารณาโดย กพท. ได้ตอบหนังสือกลับตามหนังสือที่ กพท. 09/2573 วันที่15 มี.ค.67 ให้ ทหญ. ดำเนินการแก้ไขความลาดชันในจุดที่ติดตั้งซึ่งในข้อกำหนดของสัญญาจ้างไม่ได้ระบุการแก้ไขดังกล่าวซึ่งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุพิจารณาแล้วไม่ใช่ความผิดพลาดของผู้รับจ้างแต่อย่างใด โดยคณะกรรมการฯจะประสาน ส่วนงานมาตรฐานเพื่อประสาน กพท. ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไปนอกจากนี้ ทหญ. ยังได้นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร ได้แก่ เครื่องเช็คอินด้วยตัวเองอัตโนมัติ (Common Use Self Service:CUSS) และระบบตรวจสอบยืนยันตัวตนผู้โดยสาร (PassengerValidation System : PVS) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยในการตรวจสอบและยืนยันตัวตนของผู้โดยสาร โดยใช้ระบบBiometric ระบุตัวตนผู้โดยสาร โดยทำการลงทะเบียนข้อมูลส่วนบุคคลและสแกนใบหน้า Face Recognition ที่จุดให้บริการ Counter Check-in หรือใช้งานผ่านระบบเช็คอินด้วยตัวเองอัตโนมัติ หลังจากนั้นผู้โดยสารสามารถนำ ข้อมูลใบหน้าที่ได้ทำการลงทะเบียนมาใช้บริการ ณ จุดให้บริการระบบตรวจสอบยืนยันตัวตนผู้โดยสาร (PVS) ณ จุดตรวจความปลอดภัยก่อนเข้าพื้นที่ห้องพักผู้โดยสารขาออก โดยการแสกนใบหน้า หรือการสแกน BoardingPass รวมถึง E-Boarding Pass วางลงบนเครื่องเพื่อทำการตรวจสอบ และระบบฯ จะทำการอ่านตรวจสอบข้อมูลการเดินทางของผู้โดยสาร และผู้โดยสารจะต้องผ่านการตรวจสอบอีกครั้งที่ประตูขึ้นเครื่องโดยแสกนบัตรหรือการสแกนใบหน้า ซึ่งจะทำให้การคัดกรองผู้โดยสารเป็นไปอย่างถูกต้องแม่นยำ สะดวกและปลอดภัย ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองผู้โดยสารและยกระดับมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยและช่วยลดระยะเวลารอคอยของผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานหาดใหญ่และเพื่อยกระดับคุณภาพบริการแก่ผู้โดยสาร ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ยังได้เข้าร่วมโครงการในระดับสากลได้แก่
  • โครงการจัดอับดับคุณภาพการให้บริการท่าอากาศยาน Airport Service Quality (ASQ)
  • โครงการ Customer Experience Accreditation ของ ACI (Airport Council International) เพื่อ
    พัฒนาคุณภาพการบริการสู่ความเป็นเลิศในการจัดการประสบการผู้ใช้บริการ ปัจจุบัน ทหญ. ได้รับการรับรองจาก
    โครงการในระดับที่ 1 (Level 1) โดยผ่านการฝึกอบรมและการประเมินผลแนวทางปฏิบัติและมีการใช้ข้อมูล ASQ
    Survey มาใช้ประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของท่าอากาศยาน เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดสำหรับผู้มาใช้บริการ
  • เตรียมตัวรับการประเมินจาก Skytrax ภายใต้โครงการ World Airport Audit ในเดือน ต.ค.67 เพื่อประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของท่าอากาศยาน และหาแนวทางการปรับปรุงการให้บริการ เพื่อยกระดับประสบการณ์เดินทางของผู้โดยสารและพัฒนาด้านการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้มาตรฐานสากลนอกจากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ทหญ. ยังได้รับการรับรองและได้รับรางวัลผลงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยดังนี้
  • ได้รับการรับรองระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
    (ปี 2567 สามารถรักษาสถานภาพการรับรอง โดยใบรับรองมีอายุตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค.66 – 9 ต.ค.69 )
  • รางวัลสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ
    ทำงาน ประจำปี 2567 ระดับประเทศ (ระดับทอง ปีที่ 4)
  • ใบประกาศเกียรติคุณ กิจกรรมการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ ประจำปี 2567
    (Zero Accident Campaign 2024) โล่รางวัล ระดับทองแดง
  • ใบประกาศเกียรติคุณ GLP (Good Labour Practices) เพื่อแสดงให้เห็นว่าได้นำแนวปฏิบัติการใช้
    แรงงานที่ดี ไปใช้ในการบริหารกิจการ (ระยะเวลารับรอง ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.66 – 31 ก.ค.68)
    นอกจากนนั้น ทหญ. ยังร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการจัดโครงการต่าง ๆ ร่วมกับผู้ประกอบการภายในท่า
    อากาศยานหาดใหญ่ จนได้รับการรับรองที่เป็นมาตรฐานด้านการให้บริการแก่ ลูกค้าและผู้ใช้บริการ ดังนี้
  • รางวัลสำหรับผู้ประกอบการภายใน ทหญ. มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร “อาหารสะอาด รสชาติ
    อร่อย” Clean Food Good Taste Plus (CFGT+) ระดับดีมาก ตามหลักเกณฑ์การประเมินของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
  • รางวัลสำหรับผู้ประกอบการภายใน ทหญ. มาตรฐานศูนย์เวลเนส (Wellness Center) และมาตรฐาน
    อาหารเป็นยา ตามเกณฑ์การประเมินของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
    ทหญ. มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความตระหนักถึงการให้บริการ เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้ใช้บริการ และ
    ผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนดำเนินการตามนโยบายที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ พร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐ
    ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาด้านเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลา และดำเนินกิจการภายใต้หลักธรรมาภิบาลด้วยความโปร่งใส ควบคู่ไปกับความผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน เพื่อการพัฒนาและเติบโตด้วยกันอย่างยั่งยืน