
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2568 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดประชุมระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะภายใต้โครงการ “การจัดทำแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ประจำปี 2568” โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน อาทิ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา สมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา หอการค้าจังหวัดสงขลา เทศบาลเมืองคอหงส์ เทศบาลนครหาดใหญ่ และสํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยที่คาดการณ์จะสร้างรายได้กว่า 1.8 ล้านล้านบาท และมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 37.5 ล้านคน ภายในปี 2568
นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว ย้ำวิสัยทัศน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการเร่งเสริมสร้างทักษะแรงงานใน 4 สาขาหลัก ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม, ธุรกิจสปา, ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และธุรกิจขนส่ง เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และยกระดับมาตรฐานบริการรองรับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวยุคใหม่ ทั้งนี้ ที่ประชุมมีเป้าหมายหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1.) การสำรวจข้อมูลแรงงาน เพื่อเข้าใจปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการท่องเที่ยว 2.) การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร – เพื่อกำหนดสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับแต่ละตำแหน่งงานที่พึงมีในปัจจุบันและอนาคต และ 3.) การพัฒนาแนวทางเสริมทักษะ – เพิ่มความหลากหลายทางภาษา การมีใบรับรองที่มีมาตรฐานตามกฎหมาย การสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในมุมมองใหม่ เช่น เครื่องสำอางค์ ซึ่งสามารถเป็น soft power ได้ ดังเช่นประเทศเกาหลีใต้ที่สามารถสร้างรายได้จากเครื่องสำอางค์ให้การท่องเที่ยวได้มาก ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้แก่ ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการแรงงาน, แนวทางพัฒนาบุคลากรเชิงกลยุทธ์ และเครื่องมือพัฒนาทักษะที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานท่องเที่ยวในอนาคต
สถานการณ์ภาพรวมการท่องเที่ยวไทยในปี 2568 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวและการเติบโตที่แข็งแกร่ง สถิติการท่องเที่ยวล่าสุด นักท่องเที่ยวต่างชาติคาดการณ์: 37.5 ล้านคน รายได้จากการท่องเที่ยวรวม: เกิน 1.8 ล้านล้านบาท นักท่องเที่ยวในไตรมาสแรก: 9.55 ล้านคน เติบโต 1.91%รายได้ไตรมาสแรก: 462.7 พันล้านบาท เติบโต 10.47% เป้าหมายการเติบโต: 7.5% ต่อปี อัตราการเข้าพักโรงแรมเฉลี่ย: 72.59% เพิ่มขึ้นจาก 68.59% ปีก่อน
ตลาดนักท่องเที่ยวหลัก 10 อันดับประเทศส่งนักท่องเที่ยวมากที่สุด มาเลเซีย จีน (6.7 ล้านคน) อินเดีย (2.5 ล้านคน – เติบโตสูงสุด 56.7%) ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ (2.0 ล้านคน) รัสเซีย (1.9 ล้านคน)สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร เยอรมนี และออสเตรเลีย
ซึ่งความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมภาคบริการที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของโลก โดยเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอีกมากมาย อาทิโรงแรมและที่พัก ภัตตาคารและร้านอาหาร ร้านจำหน่ายของที่ระลึก การคมนาคมขนส่ง ธุรกิจสปาและเวลเนส และบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ อุตสาหกรรมเหล่านี้สร้างงานและเป็นการกระจายรายได้ให้กับคนไทยทั้งประเทศอย่างต่อเนื่อง การเติบโตของอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรคุณภาพ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
วัตถุประสงค์โครงการ การจัดทำแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวมี 3 วัตถุประสงค์หลัก 1.) สำรวจข้อมูลการขาดแคลนแรงงาน เพื่อสำรวจข้อมูลการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ใน 4 สาขาหลัก ธุรกิจโรงแรม รองรับการเติบโตของนักท่องเที่ยว 37.5 ล้านคน ธุรกิจสปา ตอบสนองเทรนด์เวลเนสทัวริสม์ที่เติบโตสูง ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ รองรับนักท่องเที่ยวจากตลาดใหม่ ธุรกิจขนส่ง สนับสนุนการเดินทางที่หลากหลาย 2.) วิเคราะห์แผนพัฒนาบุคลากร เพื่อศึกษาวิเคราะห์แผนพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ตามแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และจัดทำสมรรถนะที่บุคลากรด้านการท่องเที่ยวในแต่ละตำแหน่งงานพึงมีสำหรับการปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบันที่มีนักท่องเที่ยวเติบโต 1.91% ในไตรมาสแรก แนวโน้มการท่องเที่ยวในอนาคตที่คาดการณ์เติบโต 47.6 ล้านคนภายในปี 2573 ความต้องการของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มุ่งสู่ความยั่งยืน 3.) จัดทำแนวทางการพัฒนาทักษะ เพื่อศึกษาวิเคราะห์และจัดทำแนวทางการพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากรด้านการท่องเที่ยวใน 4 สาขา ให้สอดคล้องกับ การท่องเที่ยวยั่งยืน รองรับโครงการ Carbon Neutral และ Net Zero Tourism เทคโนโลยีดิจิทัล ตอบสนองพฤติกรรมนักท่องเที่ยวยุคใหม่ ตลาดนักท่องเที่ยวหลากหลาย รองรับ 93 ประเทศที่ได้รับการยกเว้นวีซ่า มาตรฐานสากล ยกระดับคุณภาพบริการสู่ระดับโลก
ผลที่คาดว่าจะได้รับโครงการนี้คาดว่าจะสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม 3 ส่วนหลัก ประกอบด้วย 1. ข้อมูลการขาดแคลนแรงงาน จำนวนข้อมูลการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใน 4 สาขา ที่สอดคล้องกับการเติบโตของนักท่องเที่ยวที่คาดการณ์จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2. แนวทางการพัฒนาบุคลากร (ร่าง) แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และสมรรถนะที่บุคลากรด้านการท่องเที่ยวในแต่ละตำแหน่งงานพึงมีสำหรับการปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีรายได้การท่องเที่ยวเติบโต 10.47% แนวโน้มการท่องเที่ยวในอนาคตที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ความต้องการของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ต้องการบุคลากรคุณภาพสูง
- แนวทางการพัฒนาทักษะ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากรด้านการท่องเที่ยวใน 4 สาขา ให้สอดคล้องกับการรองรับนักท่องเที่ยวจากตลาดใหม่ เช่น ตะวันออกกลางที่เติบโตสูงมากเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มาตรฐานการให้บริการระดับสากลที่ตอบสนองความคาดหวังของนักท่องเที่ยว มุ่งสู่ความยั่งยืน
โครงการนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “Amazing Thailand Grand Tourism & Sports Year 2025” และเป้าหมายของไทยในการเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก พร้อมทั้งยกระดับดัชนีการท่องเที่ยวยั่งยืน การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวจะช่วยให้ไทยสามารถ รองรับการเติบโตของนักท่องเที่ยวที่คาดการณ์จะเพิ่มขึ้นเป็น 47.6 ล้านคนภายในปี 2573 รักษาคุณภาพการให้บริการที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย สร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในระยะยาว กระจายรายได้สู่ชุมชนและพื้นที่ท่องเที่ยวรองทั่วประเทศ








